ปี 2562
ก้าวสู่วาระที่ประเทศไทยได้รับเกียรติให้เป็นประธานอาเซียน ในปีนี้โครงการ “ผ้าขาวม้าท้องถิ่น หัตถศิลป์ไทย” จึงบูรณาการความร่วมมือจากหน่วยงานภาคส่วนต่างๆ ดำเนินโครงการต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ติดต่อกัน โดยมุ่งเน้นการสร้างช่องทางการตลาดให้แก่สินค้าและชุมชนที่มีความพร้อม ผ่านการสร้างแบรนด์ “ทอใจ” พร้อมเชื่อมโยงสินค้าเข้าร้านในรูปแบบ Online และ Offline และนำออกสู่ตลาดต่างประเทศ รวมถึงการสร้างความต่อเนื่องในการดึงคนรุ่นใหม่เข้าร่วมโครงการ
นอกจากนี้ยังเปิดรับผลงานการออกแบบผ้าขาวม้าภายใต้แนวคิด “อัตลักษณ์แห่งคุณค่า ผ้าขาวม้าอาเซียน” หรือ “ASEAN METROPOLIS” ซึ่งจะเป็นการถ่ายทอดอัตลักษณ์ผ้าขาวม้าไทย รังสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่สื่อถึงเสน่ห์แห่งเมืองต่างๆ ในกลุ่มประเทศอาเซียน ที่สำคัญยังสามารถผลิตและจำหน่ายได้จริง ชิงเงินรางวัลรวมกว่า 1 ล้านบาท พร้อมร่วมทริปไปศึกษาดูงานด้านแฟชั่นที่กรุงไทเป ประเทศไต้หวัน แบ่งการประกวดออกเป็น 2 รุ่น ได้แก่ รุ่นนักเรียนนักศึกษา และ รุ่นบุคคคลทั่วไป โดยมีผลงานที่ส่งเข้าประกวดรวมทั้งสิ้น 282 ผลงาน ใน 4 สาขา ซึ่งมีผู้ได้รับรางวัลในประเภทต่างๆ ดังนี้
สำหรับในช่วงปลายปี 2562 โครงการผ้าขาวม้าท้องถิ่นหัตถศิลป์ไทยร่วมมือกับโครงการสนับสนุนกิจกรรม ของสถาบันการศึกษา EISA (Educational Instituted Support Activities) จัดทำโครงการ Creative Young Designer เพื่อส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างชุมชนผู้ผลิตผ้าขาวม้าทอมือ กับกลุ่มนักศึกษา ด้านการออกแบบแฟชั่นจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เป้าหมายสำคัญ คือการพัฒนาผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ ๆ ที่ตอบโจทย์ความต้องการผู้บริโภค โดยมีโครงการที่ดำเนินการเสร็จสิ้นไปแล้ว ได้แก่
*ผลงานชุด Thai Fabric Mix It Happen ภายใต้ความร่วมมือของ วิสาหกิจชุมชนแปรรูปร้อยรักษ์ ต.ฮ่องแฮ่ จ.ร้อยเอ็ด และ คณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขาวิชาออกแบบแฟชั่น มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
*ผลงานชุด The New Story of Baan Nammorn ภายใต้ความร่วมมือของ วิสาหกิจชุมชนน้ำมอญแจ้ซ้อน ต.แจ้ซ้อน จ.ลำปาง และ คณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขากการออกแบบและธุรกิจแฟชั่น มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
ทั้งนี้นี้ ตลอดปี 2562 สามารถสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนผู้ผลิตผ้าขาว จำนวน 28 กลุ่มชุมชน รวมมูลค่ากว่า 44.40 ล้านบาท
โปรโมท การประกวดออกแบบผลิตภัณฑ์ โครงการผ้าขาวม้าท้องถิ่นหัตถศิลป์ไทย 2562