“ผ้าขาวม้า” เป็นผ้าท้องถิ่นของไทยที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน เป็นผ้าสารพัดประโยชน์ที่คนไทยใช้ในชีวิตประจำวันมาช้านาน ชุมชนหลายร้อยแห่งทั่วประเทศต่างยึดถือการทอผ้าขาวม้าเป็นอาชีพเสริมหลังการทำเกษตรกรรม ด้วยเหตุนี้ คณะทำงานโครงการผ้าขาวม้าท้องถิ่น หัตถศิลป์ไทย โดย บริษัท ประชารัฐรักสามัคคี วิสาหกิจเพื่อสังคม (ประเทศไทย) จำกัด ภายใต้การดำเนินงานของคณะทำงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ ร่วมกับ กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย จึงได้มีความคิดริเริ่มที่จะสร้างความตระหนักถึงความหลากหลายและประโยชน์ใช้สอยของผ้าขาวม้าให้กับกลุ่มผู้บริโภคยุคใหม่ พร้อมๆ ไปกับการพัฒนาคุณภาพ เทคนิคการผลิต ตลอดจนการแปรรูปสินค้าจากผ้าขาวม้าทอมือให้มีความหลากหลายตรงกับความต้องการของผู้บริโภคยิ่งขึ้น ทั้งนี้เพื่อสร้างมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ซึ่งอยู่คู่กับชนบทไทยมาเป็นเวลาช้านานให้เพิ่มสูงยิ่งขึ้น อีกทั้งยังเป็นการช่วยเพิ่มรายได้ให้ชุมชนอย่างยั่งยืนอีกด้วย
Link Youtube: ประมวณภาพโครงการ ผ้าขาวม้าท้องถิ่นหัตถ์ไทย ปี 2559-2560
เป็นจุดเริ่มต้นของโครงการฯ มีเป้าหมายหลักในการเฟ้นหาผ้าขาวม้าที่มีความโดดเด่นในด้านต่างๆ อาทิ เรื่องราว ประวัติความเป็นมา ความสวยงาม และอัตลักษณ์ที่เด่นชัด ซึ่งได้รับความสนใจจาก 499 ชุมชน ร่วมส่งชิ้นงานเข้าประกวด จำนวน 519 ชิ้นงาน ผ่านการคัดเลือกในรอบแรก 69 ชิ้นงาน จาก 69 ชุมชน หลังจากนั้นจัดให้มีการอบรมเสริมทักษะความรู้ในด้านต่างๆ แล้วให้ชุมชนที่ผ่านการคัดเลือกกลับไปพัฒนาเพิ่มเติม เพื่อส่งผลงานเข้ามาให้คณะกรรมการพิจารณาในรอบสุดท้ายอีกครั้ง จนได้ผู้ชนะเลิศประเภทต่างๆ ดังนี้
ตลอดเวลา 1 ปี ในการดำเนินโครงการ “ผ้าขาวม้าท้องถิ่น หัตถศิลป์ไทย” บริษัท ประชารัฐรักสามัคคี วิสาหกิจเพื่อสังคม (ประเทศไทย) จำกัด ได้สนับสนุนชุมชนที่มีฝีมือในการทอผ้าขาวม้า โดยช่วยดำเนินการในเรื่องการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาทั้งสิ้น 13 ลิขสิทธิ์ 8 เครื่องหมายการค้า 1 อนุสิทธิบัตร สร้างรายได้รวม กว่า 27 ล้านบาท
นอกจากนี้ยังสนับสนุนให้ผ้าขาวม้าทอมือของไทย จำนวนกว่า 30 ชุด ไปสู่เวทีแฟชั่นระดับอินเตอร์ บนรันเวย์งาน Amazon Fashion Week Tokyo 2017 ณ ประเทศญี่ปุ่น ด้วยฝีมือการออกแบบของดีไซเนอร์สาวคนเก่ง คุณลินดา เจริญลาภ เจ้าของแบรนด์เสื้อผ้า LALALOVE ร่วมกับ คุณโอ๋-หทัยรัตน์ เจริญชัยชนะ เมื่อวันที่ 20-22 มีนาคม 2560 รวมไปถึงการผสานความร่วมมือกับ กรมการพัฒนาชุมชน และโครงการ Education Institute Support Activity หรือ EISA เปิดโอกาสให้นิสิตนักศึกษาในสาขาแฟชั่นดีไซน์จากสถาบันการศึกษาต่างๆ ส่งผลงานการออกแบบเสื้อผ้าที่ผลิตจากผ้าขาวม้าเข้าร่วมประกวด ซึ่งนับเป็นเวทีที่ให้เยาวชนได้แสดงออกถึงความสามารถ ความคิดสร้างสรรค์ ตลอดจนการพัฒนาเสื้อผ้าจากผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากภูมิปัญญาไทยอย่างผ้าขาวม้าไทยให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากลต่อไป
ทั้งนี้นับตั้งแต่เริ่มต้นโครงการจนสิ้นสุดปี 2560 สามารถสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนผู้ผลิตผ้าขาว จำนวน 28 กลุ่มชุมชน รวมมูลค่ากว่า 59.88 ล้านบาท