01/12/2564

โครงการ ผ้าขาวม้าท้องถิ่น หัตถศิลป์ไทย ปีที่ 5 ชูแนวคิด ทีมผ้าขาวม้าไทย


รวมพลังคนรุ่นใหม่ สร้างสรรค์อัตลักษณ์ผ้าขาวม้าทอมือ ต่อยอดตลาดชุมชน สู่ตลาดสากล

              ก้าวสู่ปีที่ 5 ของ โครงการผ้าขาวม้าท้องถิ่น หัตถศิลป์ไทย ที่มุ่งผลักดันให้เกิดการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าผ้าขาวม้าทอมือ เพื่อช่วยเพิ่มรายได้และพัฒนาทักษะอาชีพให้กับชุมชนผู้ผลิตผ้าขาวม้าทั่วประเทศจากจุดเริ่มต้นของโครงการในปี พ.ศ.2559 ภายใต้การทำงานของคณะทำงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับเอกชนในการร่วมกันพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่และรายได้ของชุมชนในชนบททั่วประเทศ        โดยมี บริษัท ประชารัฐรักสามัคคี วิสาหกิจเพื่อสังคม (ประเทศไทย) จำกัด ผสานความร่วมมือกับ กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย เครือข่ายบริษัท ประชารัฐรักสามัคคี วิสาหกิจเพื่อสังคม ทั่วประเทศ ภาคีเครือข่ายสถาบันการศึกษา และ ภาคเอกชน 

              ซึ่งมี บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) นำโดย คุณฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ และประธานคณะกรรมการโครงการผ้าขาวม้าท้องถิ่นหัตถศิลป์ไทย ที่เป็นผู้ริเริ่มและหัวเรือหลักในการดำเนินงานมาตั้งแต่เริ่มโครงการ อีกทั้งยังเป็นผู้สนับสนุนหลักในโครงการเพื่อร่วมกันขับเคลื่อนและพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก ให้ชุมชนสร้างรายได้ให้แก่ตนเอง และสร้างความภาคภูมิใจในชุมชนผ่านการสร้างสรรค์ผลงานและการบอกเล่าประวัติความเป็นมาของผ้าขาวม้าทอมือ ไปพร้อมกับการสร้างความตระหนักถึงคุณค่า ในเชิงศิลปวัฒนธรรมให้เกิดขึ้นในสังคมอย่างยั่งยืน และยังมีการขยายเครือข่ายความร่วมมืออย่างต่อเนื่อง เพื่อร่วมกันพัฒนาการผลิตและการตลาดของสินค้าผ้าขาวม้าทอมือให้เป็นวงกว้างทั่วประเทศ ทำให้สินค้าจากผ้าขาวม้าทอมือกลับมามีความร่วมสมัยกลับมาอยู่ในความสนใจของผู้บริโภคอีกครั้ง และช่วยสร้างรายได้ให้กับชุมชนที่เข้าร่วมโครงการมาอย่างต่อเนื่อง

              สำหรับ โครงการผ้าขาวม้าท้องถิ่น หัตถศิลป์ไทย ภายใต้งาน “ผ้าขาวม้าทอใจ 2564” ชูแนวคิด “ทีมผ้าขาวม้าไทยจากเส้นใยสู่สนามแข่ง” มีกำหนดจัดขึ้นระหว่าง วันที่ 21-26 พฤศจิกายนนี้ ณ ชั้น สามย่านมิตรทาวน์ โดยเป็นการรวมพลังของทุกภาคส่วน ให้พัฒนาเป็นทีมผ้าขาวม้าที่แข็งแกร่งและยั่งยืนเป็นหนึ่งเดียว โดยภายในงานยังมีพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการ Creative Young Designers เพื่อส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างชุมชนผู้ผลิตผ้าขาวม้าทอมือ ด้วยการรวมพลังคนรุ่นใหม่ มาร่วมสร้างสรรค์อัตลักษณ์ผ้าขาวม้าทอมือ โดยมีการบูรณาการความรู้ระหว่างคณะด้านการออกแบบและคณะด้านการบริหารธุรกิจในการช่วยพัฒนาผ้าขาวม้า ซึ่งได้ต่อยอดขยายพื้นที่การทำงานเป็น 15 ชุมชนทั่วประเทศ ประกอบด้วย วิสาหกิจชุมชนผ้าทอนาหมื่นศรี อ.นาโยง จ.ตรัง วิสาหกิจชุมชนกลุ่มสืบสานต่อผ้าทอมือบ้านผือ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี วิสาหกิจชุมชน                      กลุ่มทอผ้าบ้านหนองเครือบุญ อ.ภาชี จ.พระนครศรีอยุธยา วิสาหกิจชุมชนกลุ่มสตรีทอผ้าบ้านรางจิก อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี วิสาหกิจชุมชนปลูกหม่อนเลี้ยงไหมทอผ้าไหมผ้าฝ้ายบ้านเสารีก อ.พนา จ.อำนาจเจริญ กลุ่มพัฒนาสตรีบ้านสวนปอ อ.ปทุมรัตต์ จ.ร้อยเอ็ด กลุ่มทอผ้าพื้นเมืองบ้านนาคำไฮ อ.เมือง จ.หนองบังลำภู กลุ่มทอผ้าพื้นเมืองบ้านสะง้อ อ.เมือง จ.บึงกาฬ กลุ่มสตรีทอผ้าบ้านเขาเต่า อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ กลุ่มทอผ้าบ้านห้วยทราย อ.จอมทอง                    จ.เชียงใหม่ กลุ่มอาชีพผ้าฝ้ายอำพัน อ.ฮอด จ.เชียงใหม่ กลุ่มอาชีพทอผ้าบ้านล่องมุด อ.เทพา จ.สงขลา กลุ่มปลูกหม่อนเลี้ยงไหมบ้านโนนชาด อ.ยางตลาด จ.กาฬสินธุ์ วิมพ์ดีไซน์ อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี และกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร  บ้านคึมมะอุ-สวนหม่อน อ.บัวลาย จ.นครราชสีมา ร่วมกับ 13 มหาวิทยาลัยในโครงการ Eisa (Education Institute Support Activity) ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา มหาวิทยาลัยกรุงเทพมหาวิทยาลัยรังสิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ  สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และ 3 สโมสรฟุตบอล ประกอบด้วย สโมสรอยุธยา ยูไนเต็ด สโมสรนครปฐม ยูไนเต็ด และสโมสรพีที ประจวบ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างชุมชนผู้ผลิตผ้าขาวม้าทอมือ กับกลุ่มนักศึกษา ซึ่งนอกจากต่อยอดความร่วมมือกันอย่างต่อเนื่องในการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์เสื้อผ้า ของใช้ ของที่ระลึก ของชุมชนผู้ผลิตผ้าขาวม้าทอมือให้มีความทันสมัยแล้ว ยังมุ่งเน้นในเรื่องการพัฒนาด้านการตลาดและช่องทางการจัดจำหน่าย รวมไปถึงการออกแบบของที่ระลึกให้แก่สโมสรฟุตบอล และการนำสินค้าผ้าขาวม้าทอมือเข้าวางขายในกิจกรรมต่างๆ ของสโมสรอีกด้วย และพิเศษสุดกับครั้งแรก...ของการเดินแบบแฟชั่นโชว์ชุดกีฬาผ้าขาวม้าสุดเท่ของนักเตะจาก 4 สโมสรดัง โปลิศ เทโร เอฟซี สุโขทัย เอฟซี สุพรรณบุรี เอฟซี และราชบุรี เอฟซี นำโดย ธีรเทพ วิโนทัย  ลีออน เจมส์ สุพรรณ ทองสงค์ สตีเว่น ล็องจิล

              คุณต้องใจ ธนะชานันท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ประชารัฐรักสามัคคีวิสาหกิจเพื่อสังคม (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “นับจากปี 2559 จนถึงปัจจุบัน เราได้บูรณาการการทำงานร่วมกับทุกภาคส่วน เพื่อแก้ปัญหาในเรื่องของคุณภาพการผลิต และด้านการตลาด ผลักดันจนเกิดการพัฒนาและแปรรูปผ้าขาวม้าชุมชนที่หลากหลาย ควบคู่ไปกับการจัดประกวดลายผ้าขาวม้า และผลิตภัณฑ์ผ้าขาวม้าที่สะท้อนอัตลักษณ์ของชุมชนอย่างชัดเจน จนเป็นที่รู้จักและถูกจับตามองในวงกว้าง และที่สำคัญโครงการ Creative Young Designers เราได้เห็นความคิดสร้างสรรค์ของน้องๆ นักศึกษา ในการนำผ้าขาวม้าสร้างสรรค์เป็นชิ้นงานต่างๆ ซึ่งน้องๆ มีความคิดสร้างสรรค์มีเทคนิคใหม่ๆ และยังสามารถขยายกรอบความคิดออกไปได้อีกมากมาย สิ่งสำคัญที่เราต้องการให้เกิดขึ้นจากการขับเคลื่อนโครงการฯ คือ ชุมชนมีความเข้มแข็ง พึ่งพาตนเองได้ เกิดเครือข่ายการทำงานของกลุ่มทอผ้าของชุมชนภายในจังหวัด และข้ามไปยังจังหวัดอื่นๆ ทั่วประเทศ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อพัฒนาการแปรรูปผ้าขาวม้าทอมือให้มีคุณภาพ และมีความหลากหลาย สร้างรายได้ให้แก่กลุ่มทอผ้าอย่างยั่งยืน ขอขอบพระคุณผู้สนับสนุนหลักของโครงการฯ ทั้งกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) และ ภาคีทุกภาคส่วน ที่ได้กรุณาให้ความสนับสนุนโครงการนี้มาเป็นอย่างดียิ่งตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้โครงการฯ ดำเนินงานมาได้บรรลุผลสำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการสร้างความรับรู้ในกลุ่มผู้บริโภคและคนรุ่นใหม่ การให้องค์ความรู้ด้านต่างๆกับชุมชนผู้ผลิต การพัฒนาสินค้าจากผ้าขาวม้าทอมือ และการนำผ้าขาวม้าไทยไปสู่วงการแฟชั่นระดับนานาชาติ ทั้งนี้เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายหลักของโครงการ คือ การสร้างรายได้ให้ชุมชนอย่างยั่งยืน

             คุณฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) และประธานคณะกรรมการโครงการผ้าขาวม้าท้องถิ่นหัตถศิลป์ไทย กล่าวว่า มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เห็นโครงการผ้าขาวม้าท้องถิ่นหัตถศิลป์ไทยได้ดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่องจนก้าวเข้าสู่ปี ที่ โดยมี บริษัท ประชารัฐรักสามัคคี วิสาหกิจเพื่อสังคม (ประเทศไทย) จำกัด เป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนการทำงานร่วมกับทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน     ภาควิชาการ ภาคประชาสังคม และภาคประชาชน รวมถึงเครือข่ายชุมชนผู้ผลิตผ้าขาวม้าทอมือทั่วประเทศ และต้องขอขอบพระคุณ กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ภาคีเครือข่ายภาคเอกชน รวมถึงสถาบันการศึกษาชั้นนำของประเทศ ที่ได้ร่วมกันผลักดันให้เกิดการพัฒนาทักษะอาชีพให้กับชุมชนผู้ผลิต และร่วมสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าผ้าขาวม้าทอมือ  จนสามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชนที่เข้าร่วมโครงการมาอย่างต่อเนื่อง นับเป็นจำนวนเงินกว่า 173 ล้านบาท การส่งมอบผลงานการออกแบบของนักศึกษา ทั้ง 6 สถาบันภายใต้กิจกรรม Creative Young Designer ให้กับชุมชนผู้ผลิตผ้าขาวม้าที่เพิ่งผ่านพ้นไปนั้น นับเป็นนิมิตหมายอันดีอีกครั้งหนึ่งในการสร้างความร่วมแรงร่วมใจระหว่างนักศึกษาในเมืองและชุมชนในชนบท ซึ่งตรงกับชื่อและวัตถุประสงค์ของงานนี้ คือ “ผ้าขาวม้าทอใจ” ที่ต้องการให้ผ้าขาวม้ามีบทบาทในการเชื่อมโยงคนไทยของเราเข้าด้วยกันทั้ง การเชื่อมโยงระหว่างคนเมืองกับคนในชนบท และ การสร้างความผูกพันระหว่างคนรุ่นปู่ย่าตายายกับคนรุ่นใหม่ ผมมีความหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การทำกิจกรรมของนักศึกษาในปีที่ผ่านมานอกจากจะเป็นการช่วยกระตุ้นชุมชนในการคิดค้นพัฒนารูปแบบสินค้าใหม่ๆแล้ว ยังเป็นการสร้างเสริมประสบการณ์และการเรียนรู้ถึงวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นให้กับนักศึกษาด้วย กระผมมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เห็นกิจกรรม Creative Young Designer ยังคงดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและขยายขอบข่ายความร่วมมือไปสู่ 15 ชุมชนทั่วประเทศ ผ่านความร่วมมือกับ 13 สถาบันอุดมศึกษา และ 3 สโมสรฟุตบอล รวมถึงมีการขยาย การบูรณาการความรู้ทั้งในด้านการออกแบบและการบริหารธุรกิจเข้าด้วยกัน ตลอดจนมีการพัฒนาด้านการตลาดและการจัดจำหน่ายสินค้าผ้าขาวม้าผ่านช่องทางและกิจกรรมต่างๆของสโมสรฟุตบอล และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าพลังร่วมที่เราได้แสดงออกร่วมกันในวันนี้จะช่วยหนุนนำการดำเนินโครงการผ้าขาวม้าท้องถิ่นหัตถศิลป์ไทยและการพัฒนาชุมชนผ้าขาวม้าทอมือของเราต่อไปในอนาคตเพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับชุมชนตามแนวทาง “แรงบันดาลใจจากทุกคน  เพื่อชุมชนที่ยั่งยืน

              โดยผลงานของโครงการผ้าขาวม้าท้องถิ่นหัตถศิลป์ไทย นับว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างยิ่งใน 5 มิติหลัก ดังนี้ 1).การสร้างรายได้ให้กับชุมชนผ้าขาวม้าทอมือ ในช่วงที่ผ่านมามีชุมชนที่ยืนหยัดทำงานร่วมกับโครงการฯ                 มาอย่างต่อเนื่องจำนวน 28 ชุมชน และโครงการฯได้ร่วมสร้างรายได้ให้กับชุมชนเหล่านี้กว่า 173 ล้านบาท                  2).การสร้างเครือข่ายภาคเอกชน ที่พร้อมจะสนับสนุนชุมชนผ้าขาวม้าทอมือ ทั้งในรูปแบบการสั่งซื้อสินค้า                การร่วมออกแบบและให้ความรู้ในการทำธุรกิจ ตลอดจนความเชื่อมโยงในรูปแบบต่างๆ โดยมีตัวอย่างของเครือข่ายภาคเอกชนที่ได้ร่วมทำงานกับโครงการมาอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ กลุ่ม บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน)                 กลุ่มบริษัทเซ็นทรัล และ บริษัท S&P Syndicate จำกัด 3).การผลักดันการสร้างอัตลักษณ์ของชุมชน ลงบนผ้าขาวม้าของตน เพื่อสร้างความโดดเด่นเฉพาะตัวให้เป็นที่จดจำของผู้บริโภค 4).การสานต่องานผลิตและแปรรูปผ้าขาวม้าสู่คนรุ่นใหม่ ผ่านกิจกรรมหลัก 2 อย่าง คือ การเฟ้นหาทายาทผ้าขาวม้าไทย ซึ่งได้พบทายาทตัวจริงในชุมชน จำนวน 15 คน ที่ยึดถือการผลิตและแปรรูปผ้าขาวม้าทอมือเป็นอาชีพ โดยช่วยพัฒนาช่องทางขายสู่ช่องทางออนไลน์และพัฒนาอัตลักษณ์และแบรนด์สินค้าให้มีความโดดเด่นชัดเจนยิ่งขึ้น นอกจากนั้น โครงการฯ ยังได้สร้างความร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ มาอย่างต่อเนื่องโดยมีการดึงคณาจารย์และนักศึกษาเข้าร่วมงานกับชุมชนผู้ผลิตผ้าขาวม้าทอมือ รวม 13 สถาบันและมีชุมชนที่ได้รับประโยชน์รวมทั้งสิ้นจำนวน 24 ชุมชน และ 5).การเสริมสร้างห่วงโซ่การผลิตผ้าขาวม้าทอมือ ให้มีความเข้มแข็งและเกื้อกูลกันระหว่างชุมชนต่างๆ เพื่อให้แต่ละชุมชนสามารถพัฒนาทักษะและความเป็นเลิศในด้านที่ตนถนัด ซึ่งผลงานด้านนี้ที่มีความเด่นชัดที่สุด คือการผลิตผ้าขาวม้าทอมือในจังหวัดอำนาจเจริญ นำโดยคุณธนิดา พูลจิตร แบรนด์นุชบา ที่ได้เชื่อมโยงชุมชนกว่า 80 กลุ่มจาก 7 อำเภอ ในจังหวัดอำนาจเจริญ และสามารถสร้างรายได้ให้ชุมชนเป็นเงินกว่า 10 ล้านบาทต่อปี